แพลงก์ตอนพืช (Phytoplankton)

หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่ล่องลอยอยู่ในมวลน้ำ สามารถสร้างอาหารเองได้ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง จึงเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำ คัญอย่างยิ่งในระบบนิเวศแหล่งน้ำ ในฐานะผู้ผลิตขั้นต้นของแหล่งน้ำ (Primary Producer)

การพบเจอแพลงก์ตอนพืชในแหล่งน้ำ สายพันธุ์หลักที่พบ

  • Cyanobacteria
  • Diatoms
  • Dinoflagellates

แพลงก์ตอนพืชน้ำจืด ถูกพบว่าสามารถอาศัยอยู่ได้ตั้งแต่น้ำสะอาดไปจนถึงน้ำที่ปนเปื้อนมลพิษ และแพลงก์ตอนพืชน้ำเค็ม ซึ่งมีมากถึง 10,000 ชนิดที่ถูกพบตามแนวชายฝั่งและในมหาสมุทร โดยมีขนาดตั้งแต่ 0.2 ถึง 200 ไมโครเมตร ซึ่งแพลงก์ตอนพืชเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการผลิตออกซิเจนให้กับแหล่งน้ำ จนไปถึงชั้นบรรยากาศของโลก

คุณประโยชน์ของแพลงก์ตอนพืช

  • เป็นแหล่งอาหารที่สําคัญของระบบนิเวศทางทะเล
  • เป็นอาหารในการอนุบาลสัตว์นํ้า ตัวอ่อน เช่น Chlorella Spirulina
  • เป็นอาหารของมนุษย์ สาหร่ายบางชนิด เช่น Spirogyra
  • เป็นยารัักษาโรค ชนิด Spirulina ใช้เป็นสารประกอบในยารักษาความดันโลหิตสูง โลหิตจาง โรคภูมิแพ้ มะเร็งในช่องปาก เป็นต้น

โทษ/พิษของแพลงก์ตอนพืช

  • สามารถสร้างชีวพิษที่มีฤทธิ์ต่อระบบทางเดิน อาหารของมนุษย์ ทําให้เกิดอาการท้องร่วง ได้แก่ Dinophysis caudata
  • สามารถสร้างชีวพิษที่อาจทําให้ความจําเสื่อมได้ ได้แก่ Pseudo-nitzschia spp.
  • ในกรณีที่มีปริมาณของแพลงก์ตอนพืชมากเกินไป ในแหล่งน้ำจะทำให้ออกซิเจนในแหล่งน้ำมีปริมาณลดลง บางครั้งทำให้สัตว์น้ำตาย และอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคสัตว์น้ำที่ปนเปื้อนพิษ ในกรณีเกิดการเพิ่มปริมาณของแพลงก์ตอนพืชที่ก่อให้เกิดสารพิษ

ปรากฏการณ์นํ้าทะเลเปลี่ยนสีหรือปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ Red Tides

คือ ปรากฏการณ์ที่แพลงก์ตอนพืช (Phytoplankton) เพิ่มจํานวนอย่างมากและรวดเร็วหรือที่เรียกว่า Planktonbloom ซึ่งทําให้นํ้าทะเลเปลี่ยนสีไปตามรงควัตถุของพวกแพลงก์ตอนพืชเหล่านั้น