HomeKnowledgeFishery Management

Fishery Management

ธนาคารปูแสม

ปูแสม (Mangrove Crab) อาศัยอยู่บริเวณป่าชายเลน เช่น แสม โกงกาง หรือบริเวณปากแม่น้ำ  ช่วงกลางวันส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในรู และออกหากินในเวลากลางคืน ปูแสมกินใบไม้ทั้งสดและที่ล่วงลงพื้น ตลอดจนซากพืชซากสัตว์ที่ตายแล้วเป็นอาหาร ปูแสมนับเป็นสัตว์ที่มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศในระดับห่วงโซ่อาหารอย่างมาก รวมทั้งปูแสมยังเป็นอาหารของมนุษย์ด้วย ธนาคารปูแสม หมายถึง การนำแม่ปูแสมที่มีไข่แก่ติดหน้าท้องมาปล่อยไว้ในพื้นที่เขตจำเพาะ แม่ปูแสมหนึ่งตัวจะผลิตไข่จำนวนประมาณ 9,000-55,000 ฟอง ขึ้นอยู่กับขนาดและความสมบูรณ์ของแม่พันธุ์ปูแสม ไข่ที่ถูกเขี่ยออกจากแม่ปูก็จะฟักเป็นตัวอ่อน และเติบโตเป็นปูแสมขนาดใหญ่ต่อไป  Read More (PDF file format) View on Facebook  

Establishment of Fisheries Refugia in the South China Sea and Gulf of Thailand

MAP OF 15 FISHERIES REFUGIA IN THE SOUTH CHINA SEA AND GULF OF THAILAND Total coverage area:  1,159,241 ha Cambodia: 4 sites Kep Province for blue swimming crab (11,307 ha) Kampot Province for the juvenile grouper (8008 ha); Preah...

ธนาคารไข่หมึก บ้านหาดทรายขาว จังหวัดระนอง

สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในความร่วมมมือกับกรมประมง นำแนวทางการจัดการทรัพยากรประมงเชิงระบบนิเวศ (EAFM) มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแผนการจัดการประมง ในพื้นที่บ้านหาดทรายขาว อ.สุขสำราญ จ.ระนอง คนในชุมชนประกอบอาชีพประมงขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ทำประมงลอบหมึก ชนิดหมึกที่ได้ คือ หมึกหอมและหมึกกระดอง ซึ่งปัจจุบันชาวประมงประสบปัญหาทรัพยากรหมึกลดลง จากการทำแผนการจัดการทรัยพากรร่วมกัน จังเห็นว่าควรมีการจัดตั้งธนาคารหมึก เพื่อช่วยฟื้นฟูทรัพยากร ธนาคารหมึกแห่งแรก ตั้งขึ้นที่บ้านทะเลงาม จ. ชุมพร สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้นำต้นแบบธนาคารหมึกแบบกระชัง จาก จ. ชุมพรมาพัฒนา ธนาคารหมึกได้จัดตั้งขึ้นที่ บ้านหาดทรายขาว จ. ระนอง มีการถ่ายทอดความรู้เรื่องธนาคารหมึกโดยประธานกลุ่มธนาคารหมึกบ้านทะเลงาม และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเล...

Socioeconomic Database of Small-scale Fisheries in Southeast Asia

ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดำเนินกิจกรรมในภาคการประมงขนาดเล็กในพื้นที่โครงการครอบคลุมชายฝั่งทะเลและพื้นที่ประมงน้ำจืด หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสำหรับประมงขนาดเล็ก มาใช้การจัดเก็บข้อมูลที่รวบรวมได้ในระหว่างดำเนินกิจกรรมโครงการใน อันประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม ข้อมูลบทบาทหญิงชาย ซึ่งการนำระบบฐานข้อมูลมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลจะช่วยให้สะดวกต่อการนำข้อมูลมาใช้ในอนาคต ผลการดำเนินกิจกรรม จากประชุมหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง กับผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล ข้อมูลที่นำมาใช้จะนำมาใช้ คือข้อมูลจากแบบสอบถามที่ทางศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดย Fisheries Management Section ได้ทำการเก็บข้อมูล และรวบรวมไว้ มีการนำเข้าข้อมูล มีรายการดังต่อไปนี้ ข้อมูลเบื้องต้น เช่น เพศ อายุ รายได้ จำนวนประชากรในครัวเรือน จำนวนเรือ ประเภทของเรือ ปัญหาที่เกิดจากจากทำประมง เครื่องมือประมงและผลจับ แหล่งขายสัตว์น้ำที่จับได้ การมีส่วนร่วมในชุมชนของชาวประมง บทบาทหญิงชาย การเข้าถึงแหล่งเงินทุน  Read More (PDF file format) View on Facebook...

What is fish stock assessment and why we have to talk about it now?

The current capture fishery amount was higher than 3 times of the record in 1950 (FAO, 2022) Therefore, we should do something! Two fish stocks was known to be the first stock that was overexploited in...

Most Read