HomeKnowledgeFishery Management

Fishery Management

ปรับปรุงการเข้าถึงตลาดของสินค้าประมง

หมายถึง  การปรับปรุงการเข้าถึงตลาด เป็นชุดของกิจกรรมที่จะลด หรือขจัดเงื่อนไขและข้อจํากัดในการเข้าถึงการตลาด ของชาวประมง เป็นการเพิ่มศักยภาพของชาวประมงใน การได้รับผลประโยชน์จากตลาด ด้วยการใช้ความสัมพันธ์ในสังคมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าสัตว์นํ้า เป้าหมาย เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ที่อยู่ในสาขาการประมงสามารถสร้าง รายได้ให้สูงขึ้น และมีสัตว์นํ้าเพียงพอสําหรับการบริโภค รวมทั้งชาวประมงได้ผลประโยชน์จากระบบตลาดมากขึ้น การเข้าถึงตลาดโลก มีความเข้าใจและปฏิบัติตามมาตรฐานและกฎระเบียบของผลิตภัณฑ์สัตว์นํ้าของประเทศและภูมิภาคต่างๆ ซึ่งมุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สัตว์นํ้า เชื่อมั่นและปฏิบัติตามในเรื่องการติดฉลากสิ่งแวดล้อม หรือแนวปฏิบัติที่รัฐได้จัดทําขึ้น ด้วยความสมัครใจ ปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ เพื่อขจัดประมงเถื่อน และรวมทั้งข้อตกลงในมาตรการที่ใช้ในการจัดการท่าเทียบเรือ (Port State Measures Agreement : PSM) เอกสารแสดงผลจับ บันทึกของเรือประมง สนับสนุนการตรวจสอบย้อนกลับของสัตว์นํ้าที่จับมาขึ้นท่า เพื่อขจัดประมงเถื่อน รวมทั้งต้องร่วมมือในทุกประเด็น ตามความต้องการของเรื่องความปลอดภัยของอาหารทะเล ข้อตกลง CITES และฉลากสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการอุดหนุนที่ไม่สร้างผลกระทบในทางลบต่อทรัพยากรประมง ลดอาหารทะเลที่แปลกปลอมและการทําผิดเกี่ยวกับการค้าอาหารทะเล (ที่หวังผลกําไรสูง...

การจัดการประมง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

“การแบ่งปันอํานาจ และความรับผิดชอบในการจัดการประมง ระหว่าง รัฐ กับ ผู้ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น (ชาวประมง) โดยได้รับการสนับสนุน และความช่วยเหลือตามความจำเป็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ, หน่วยงานภายนอก (นอกภาครัฐ), องค์กร (เอ็นจีโอ) รวมถึงสถาบันการศึกษา และสถาบันการวิจัย” ประโยชน์ของการจัดการแบบมีส่วนร่วม การจัดการแบบมีส่วนร่วมทำให้: เพิ่มการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากร เกิดการระดมความคิดเห็น และหาทางออกร่วมกัน เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ลดความขัดแย้งระหว่างผู้ใช้ทรัพยากร เกิดความไว้วางใจระหว่างภาครัฐ (รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) และชาวประมง เกิดความเต็มใจในการปฏิบัติตามกฎหมาย สร้างความรู้สึกในการเป็นเจ้าของทรัพยากร มีความรวดเร็วในการดำเนินการ และคุ้มค่า  Read More (PDF file format) View on Facebook  

การเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ

การเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเป็นกิจกรรมหลังการจับ เพื่อจะทำให้มูลค่าของสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำได้ก็ต้องมีองค์ความรู้ทักษะ และการลงทุน เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ประมงให้มีมูลค่าสูงขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่ได้อาจอยู่ในรูปของการทำเค็ม การตากแห้ง การรมควัน การทำเนื้อปลาบด  ข้าวเกรียบ และการหมักดอง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปเบื้องต้นจะช่วยทำลายหรือหยุดการทำงานของแบคทีเรียและเชื้อโรค การสร้างมูลค่าให้สัตว์น้ำส่งผลดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง  การค้าที่เป็นธรรม เป็นต้น เป้าหมาย เพื่อเสริมสร้างและหาแหล่งรายได้ใหม่ จัดหาโอกาสใหม่ ในตลาด ลดการสูญเสียของอาหารทะเล ไม่มีสัตว์น้ำเหลือทิ้ง พัฒนาความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และเพิ่มอายุในการเก็บรักษา ทำงานอย่างไร การสร้างมูลค่าเพิ่มจะเกิดขึ้นจากการผลักดันทางการตลาด สุขอนามัยเทคโนโลยี สิ่งอำนวนความสะดวก หรือจากสังคมและสิ่งแวดล้อม กระบวนการที่จะสนับสนุนชาวประมงโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวประมงพื้นบ้าน  ได้แก่ -การพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการเจรจาต่อรอง ศีกษาหาข้อจำกัดในด้านสังคม  วัฒนธรรม   การเมือง  และทักษะทางการตลาด -ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ซึ่งรวมถึงท่าขึ้นสัตว์น้ำและอุปกรณ์ที่ใช้ในท่า ...

Fisheries Refugia Site and Priority Species

15 Priority Fisheries Refugia Sites and Target Species including: Blue Swimming Crab Orange-spotted Grouper Short Mackerel Spiny Lobster Tiger Prawn Mitre Squid Indian White Prawn Fusilier Frigate Tuna Rabbitfish  Read More (PDF file format) View on Facebook  

Most Read