HomeKnowledgeFishery Management

Fishery Management

เศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy)

เศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy) คือ แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานการใช้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน เป็นแนวทางการขับเคลื่อนให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน แนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงิน จากการประชุมเวทีโลก (RIO+20) เกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน เกิดแนวคิดเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคพื้นดินควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนาเป็นแนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy) ที่ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของภาคทะเล เนื่องจากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งก็ถูกนำมาใช้ประโยชน์ ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล การใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจทวีความสำคัญมากขึ้น รวมถึงการขยายตัวอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมทางทะเลและชายฝั่ง เป็นตัวเร่งให้เกิดการทำลายระบบนิเวศทางทะเล กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การทำประมง (Fisheries) การขนส่งทางทะเล (Transportation) การท่องเที่ยว (Tourism) แหล่งน้ำมัน (Energy)

สร้างรายได้จากการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย ควบคู่กับการอนุรักษ์ป่าชายเลน

เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ส่งเสริมการจัดการทรัพยากรประมงโดยแนวทางเชิงระบบนิเวศ ซึ่งมีขั้นตอนการดาเนินการ อนุรักษ์ป่าชายเลนให้คงความสมบูรณ์ที่สุด โดยอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชายเลนเพื่อเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ของผึ้งโพรง เตรียมอุปกรณ์การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย • กล่องเลี้ยงผึ้งโพรงไทย • กระป๋องพ่นควัน • ไขผึ้ง • แปรงปัดผึ้ง • ชุดป้องกันผึ้งต่อย (เสื้อแขนยาวกางเกงขายาว หมวกตาข่าย ถุงมือยาง) • อุปกรณ์สาหรับการเก็บน้้ำผึ้ง เช่น หม้อ ถาด ถังสลัดน้้ำผึ้ง กรองน้้ำผึ้ง เป็นต้น ดักล่อจับผึ้งโพรงไทยในธรรมชาติ - นำกล่องผึ้งไปวางดักผึ้งให้เข้ากล่อง โดยเลือกสถานที่วางที่มีร่มเงาพอสมควร และควรเป็นบริเวณลานบินของผึ้ง (สังเกตจากเสียงบินของผึ้ง) - นำไขผึ้งทาตรงบริเวณฝาบนด้านในของกล่องผึ้ง (เพื่อล่อให้ผึ้งเข้ามาทารังอยู่ในกล่อง) - ทาน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วตรงบริเวณขาวางกล่องเพื่อป้องกันศัตรูของผึ้ง เช่น มด ปลวก จิ้งจก แมลงสาบ เป็นต้น - ใช้แผ่นกระเบื้องวางบนกล่องเพื่อเป็นหลังคากันแดดและฝน - ช่วงที่เหมาะสมในการดักจับผึ้งโพรงไทยคือช่วงเดือนมกราคม...

มาตรฐานการทำประมงพื้นบ้านแบบยั่งยืน และการแปรรูปสินค้าประมงพื้นบ้าน

วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วม และสนับสนุนชุมชนประมงท้องถิ่น ในการจัดการบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากการจับทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเล ให้เกิดอย่างยั่งยืน รวมถึงการแปรรูปสินค้าประมงพื้นบ้านให้มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค คุณสมบัติผู้ที่ประสงค์ยื่นขอใบรับรอง กรณีขอใบรับรองมาตรฐาน “การทำการประมงพื้นบ้านอย่างยั่งยืน” ต้องเป็นสมาชิกองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น ต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนผู้ทำการประมง (ทบ.3) ไม่เคยถูกเพิกถอนการรับรองตามระเบียบนี้ เว้นแต่พ้นระยะเวลา 90 วัน นับจากวันที่เพิกถอนการรับรองมาแล้ว พร้อมทั้งแสดงหลักฐานการแก้ไขข้อบกพร่อง กรณีขอใบรับรองมาตรฐาน “การแปรรูปสินค้าประมงพื้นบ้าน” ได้รับการจดทะเบียนเป็นองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นด้านแปรรูป หรือเป็นสมาชิกองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น หรือได้รับการจดทะเบียนผู้ประกอบการด้านการประมง (ทบ.2) ไม่เคยถูกเพิกถอนการรับรองตามระเบียบนี้ เว้นแต่พ้นระยะเวลา 90 วัน นับจากวันที่เพิกถอนการรับรองมาแล้ว พร้อมทั้งแสดงหลักฐานการแก้ไขข้อบกพร่อง

การบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยแนวทางเชิงระบบนิเวศ

การบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยแนวทางเชิงระบบนิเวศ (Ecosystem Approach to Fisheries Management: EAFM) การบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยแนวทางเชิงระบบนิเวศ คือ การนำแนวทางเชิงระบบนิเวศมาประยุกต์ใช้กับการประมง เพื่อทำให้เกิดการได้ประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืนจากระบบประมง โดยเน้นในเรื่องการหาสมดุลระหว่างความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ และความอยู่ดีมีสุขของมนุษย์ด้วยหลักธรรมาภิบาล ประโยชน์สำคัญของการบริหารจัดการทรัพยากรประมง โดยแนวทางเชิงระบบนิเวศ เกิดการพิจารณาความเชื่อมโยงระหว่างระบบนิเวศ และการประมงที่กว้างขึ้น เกิดการมีส่วนร่วมในการวางแผน เพื่อการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เอื้อต่อการเจรจา แลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ และสร้างสมดุลความต้องการของมนุษย์ ให้สอดคล้องกับระบบนิเวศ ช่วยให้เกิดสมดุลของผลผลิตสัตว์น้ำ กับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการปกป้องแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ ช่วยให้เกิดการแก้ไขและลดความขัดแย้งระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การจัดการประสบความสำเร็จ วัดผลอย่างไร การบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยแนวทางเชิงระบบนิเวศ มีระบบการติดตามและการประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ โดยแต่ละแผนการจัดการ ต้องมีตัวชี้วัดที่เหมาะสม ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ จะแสดงผลให้ทราบได้ว่าการจัดการนั้นๆมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด การบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยแนวทางเชิงระบบนิเวศเป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทยหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นการเติมเต็มและบูรณาการหลายแนวทางการจัดการที่มีอยู่ในการจัดการประมงทะเล และทรัพยากรชายฝั่ง เช่น การจัดการประมงที่มีอยู่แล้ว แผนการจัดการทะเลเชิงพื้นที่ การจัดการชายฝั่งแบบบูรณาการ และการจัดการแบบมีส่วนร่วม เข้ามาไว้ด้วยกัน การบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยแนวทางเชิงระบบนิเวศ...

เส้นทางการกระจายสัตว์น้ำของชาวประมงพื้นบ้าน (ระยอง)

จังหวัดระยอง ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศไทย ด้านซ้ายติดกับจังหวัดชลบุรี ด้านขวาติดกับจังหวัดจันทบุรี มี 3 อำเภอที่ติดชายฝั่ง 1) บ้านฉาง 2) เมืองระยอง 3) แกลง มีกลุ่มชาวประมงพื้นบ้าน ทั้งหมด 28 กลุ่ม (1,458* คน) ตลอดแนวชายฝั่งของจังหวัด และมีเครื่องมือประมงหลักๆ ที่ใช้ในพื้นที่ ได้แก่ อวนจมปู (Crab gillnet) อวนลอยกุ้งสามชั้น (Shrimp trammel net) และอวนปลา (Fish gillnet)  More Detail...

Most Read