HomeKnowledgeFishery Management

Fishery Management

การบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยแนวทางเชิงระบบนิเวศ

การบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยแนวทางเชิงระบบนิเวศ (Ecosystem Approach to Fisheries Management: EAFM) การบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยแนวทางเชิงระบบนิเวศ คือ การนำแนวทางเชิงระบบนิเวศมาประยุกต์ใช้กับการประมง เพื่อทำให้เกิดการได้ประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืนจากระบบประมง โดยเน้นในเรื่องการหาสมดุลระหว่างความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ และความอยู่ดีมีสุขของมนุษย์ด้วยหลักธรรมาภิบาล ประโยชน์สำคัญของการบริหารจัดการทรัพยากรประมง โดยแนวทางเชิงระบบนิเวศ เกิดการพิจารณาความเชื่อมโยงระหว่างระบบนิเวศ และการประมงที่กว้างขึ้น เกิดการมีส่วนร่วมในการวางแผน เพื่อการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เอื้อต่อการเจรจา แลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ และสร้างสมดุลความต้องการของมนุษย์ ให้สอดคล้องกับระบบนิเวศ ช่วยให้เกิดสมดุลของผลผลิตสัตว์น้ำ กับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการปกป้องแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ ช่วยให้เกิดการแก้ไขและลดความขัดแย้งระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การจัดการประสบความสำเร็จ วัดผลอย่างไร การบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยแนวทางเชิงระบบนิเวศ มีระบบการติดตามและการประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ โดยแต่ละแผนการจัดการ ต้องมีตัวชี้วัดที่เหมาะสม ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ จะแสดงผลให้ทราบได้ว่าการจัดการนั้นๆมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด การบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยแนวทางเชิงระบบนิเวศเป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทยหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นการเติมเต็มและบูรณาการหลายแนวทางการจัดการที่มีอยู่ในการจัดการประมงทะเล และทรัพยากรชายฝั่ง เช่น การจัดการประมงที่มีอยู่แล้ว แผนการจัดการทะเลเชิงพื้นที่ การจัดการชายฝั่งแบบบูรณาการ และการจัดการแบบมีส่วนร่วม เข้ามาไว้ด้วยกัน การบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยแนวทางเชิงระบบนิเวศ...

What’s Fisheries Refugia Concept ?

Definition of Fisheries Refugia Fisheries Refugia are Spatially and geographically defined, marine or coastal areas in which specific management measures are applied to sustain important species during critical phases of their life-cycle, for their...

เส้นทางการกระจายสัตว์น้ำของชาวประมงพื้นบ้าน (ระยอง)

จังหวัดระยอง ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศไทย ด้านซ้ายติดกับจังหวัดชลบุรี ด้านขวาติดกับจังหวัดจันทบุรี มี 3 อำเภอที่ติดชายฝั่ง 1) บ้านฉาง 2) เมืองระยอง 3) แกลง มีกลุ่มชาวประมงพื้นบ้าน ทั้งหมด 28 กลุ่ม (1,458* คน) ตลอดแนวชายฝั่งของจังหวัด และมีเครื่องมือประมงหลักๆ ที่ใช้ในพื้นที่ ได้แก่ อวนจมปู (Crab gillnet) อวนลอยกุ้งสามชั้น (Shrimp trammel net) และอวนปลา (Fish gillnet)  More Detail...

Most Read