HomeKnowledge

Knowledge

Echo Sounder

M.V.SEAFDEC: 1178-GT purse seine research vessel and training vessel has been utilized for the conduct of regional collaborative surveys in the waters of the Southeast Asian countries. M.V. SEAFDEC has conducted oceanographic surveys, bathymetric...

การเพาะเลี้ยงหอยขม

ในปัจจุบันนั้นหอยขมในประเทศเหลือน้อยลงและใกล้สูญพันธ์ เนื่องมาจากการใช้สารเคมีจากการทำการเกษตรในรูปแบบต่างๆ แต่ความนิยมในการนำหอยขมมาทำเป็นอาหารนั้นยังมีอยู่ และรสชาตินั้นก็อร่อยถูกปากของคนไทยโดยเฉพาะทางอีสานและในปัจจุบันนั้นปริมาณของหอยขมลดน้อยลงมาก ไม่เพียงพอต่อการรับประทานหรือนำมาเป็นอาหาร รวมทั้งมีความต้องการในตลาดสูงมากเพราะรสชาติดีหอยขมจึงถือว่าเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจอีกตัวก็ว่าได้ หอยขม (Filopaludina martensi munensis) หอยขม  หรือในบางท้องถิ่นเรีอกว่า หอยจุ๊บ หรือหอยดูด เป็นที่รู้จักกันดีและมีขายในตลาดทั่วไป  เป็นหอยฝาเดียว ที่พบเฉพาะในแหล่งน้ำจืดเท่านั้น นิยมนำมาทำอาหาร เช่น แกงคั่วหอยขม แกงอ่อมหอยขม และอื่น ๆ โดยส่วนมากจะพบจากแหล่งธรรมชาติ โดยชาวบ้านในท้องที่เก็บมาขาย หรือพบบริเวณบ่อเลี้ยงปลา ซึ่งเป็นผลพลอยได้สำหรับเจ้าของบ่อเลี้ยงปลา แต่ในปัจจุบันมีการทำฟาร์มเพื่อการเพาะเลี้ยงหอยขมในกระชังโดยเฉพาะ หอยขมเป็นสัตว์ที่มีความอดทนต่อสภาพแวดล้อม เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว และขยายพันธุ์เร็ว  Read More (PDF file format) View on...

การจัดการประมง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

“การแบ่งปันอํานาจ และความรับผิดชอบในการจัดการประมง ระหว่าง รัฐ กับ ผู้ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น (ชาวประมง) โดยได้รับการสนับสนุน และความช่วยเหลือตามความจำเป็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ, หน่วยงานภายนอก (นอกภาครัฐ), องค์กร (เอ็นจีโอ) รวมถึงสถาบันการศึกษา และสถาบันการวิจัย” ประโยชน์ของการจัดการแบบมีส่วนร่วม การจัดการแบบมีส่วนร่วมทำให้: เพิ่มการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากร เกิดการระดมความคิดเห็น และหาทางออกร่วมกัน เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ลดความขัดแย้งระหว่างผู้ใช้ทรัพยากร เกิดความไว้วางใจระหว่างภาครัฐ (รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) และชาวประมง เกิดความเต็มใจในการปฏิบัติตามกฎหมาย สร้างความรู้สึกในการเป็นเจ้าของทรัพยากร มีความรวดเร็วในการดำเนินการ และคุ้มค่า  Read More (PDF file format) View on Facebook  

พลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้: ทางเลือกสำหรับวัสดุประมงในอนาคต

วัสดุพลาสติกถูกประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์เมื่อปี ค.ศ.1907 (พ.ศ. 2450) สำหรับอุตสาหกรรมประมง วัสดุพลาสติกก็ถูกนำมาใช้ผลิตเครื่องมือประมง หรือส่วนประกอบในรูปแบบของเส้นใยสังเคราะห์จำพวก โพลีเอสเตอร์ (Polyester) โพลีเอธิลีน (Polyethylene) ไนล่อน (Nylon) ฯลฯ  เป็นต้น โดยเข้ามาทดแทนเส้นใยธรรมชาติจำพวก ฟางข้าว หญ้า เส้นใยจากต้นไม้ เพื่อใช้จับสัตว์น้ำ ทั้งในส่วนของอวน เชือก ทุ่น สายเบ็ดและส่วนประกอบอื่นๆที่จำเป็นของเครื่องมือประมง รวมถึงใช้สำหรับกิจกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างแพร่หลาย อวนหรือตาข่ายที่ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์ ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือประมงสามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของการประมงตามมาในระยะยาว ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งของวัสดุสังเคราะห์โดยทั่วไป คือ การไม่ย่อยสลายในระยะเวลาอันสั้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล เช่น เมื่อเกิดเครื่องมือประมงสูญหาย หรือความตั้งใจทิ้งเครื่องมือประมง หรือไม่ตั้งใจก็ตามลงในทะเล...

การเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ

การเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเป็นกิจกรรมหลังการจับ เพื่อจะทำให้มูลค่าของสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำได้ก็ต้องมีองค์ความรู้ทักษะ และการลงทุน เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ประมงให้มีมูลค่าสูงขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่ได้อาจอยู่ในรูปของการทำเค็ม การตากแห้ง การรมควัน การทำเนื้อปลาบด  ข้าวเกรียบ และการหมักดอง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปเบื้องต้นจะช่วยทำลายหรือหยุดการทำงานของแบคทีเรียและเชื้อโรค การสร้างมูลค่าให้สัตว์น้ำส่งผลดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง  การค้าที่เป็นธรรม เป็นต้น เป้าหมาย เพื่อเสริมสร้างและหาแหล่งรายได้ใหม่ จัดหาโอกาสใหม่ ในตลาด ลดการสูญเสียของอาหารทะเล ไม่มีสัตว์น้ำเหลือทิ้ง พัฒนาความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และเพิ่มอายุในการเก็บรักษา ทำงานอย่างไร การสร้างมูลค่าเพิ่มจะเกิดขึ้นจากการผลักดันทางการตลาด สุขอนามัยเทคโนโลยี สิ่งอำนวนความสะดวก หรือจากสังคมและสิ่งแวดล้อม กระบวนการที่จะสนับสนุนชาวประมงโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวประมงพื้นบ้าน  ได้แก่ -การพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการเจรจาต่อรอง ศีกษาหาข้อจำกัดในด้านสังคม  วัฒนธรรม   การเมือง  และทักษะทางการตลาด -ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ซึ่งรวมถึงท่าขึ้นสัตว์น้ำและอุปกรณ์ที่ใช้ในท่า ...

Most Read