HomeKnowledge

Knowledge

มาตรฐานการทำประมงพื้นบ้านแบบยั่งยืน และการแปรรูปสินค้าประมงพื้นบ้าน

วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วม และสนับสนุนชุมชนประมงท้องถิ่น ในการจัดการบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากการจับทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเล ให้เกิดอย่างยั่งยืน รวมถึงการแปรรูปสินค้าประมงพื้นบ้านให้มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค คุณสมบัติผู้ที่ประสงค์ยื่นขอใบรับรอง กรณีขอใบรับรองมาตรฐาน “การทำการประมงพื้นบ้านอย่างยั่งยืน” ต้องเป็นสมาชิกองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น ต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนผู้ทำการประมง (ทบ.3) ไม่เคยถูกเพิกถอนการรับรองตามระเบียบนี้ เว้นแต่พ้นระยะเวลา 90 วัน นับจากวันที่เพิกถอนการรับรองมาแล้ว พร้อมทั้งแสดงหลักฐานการแก้ไขข้อบกพร่อง กรณีขอใบรับรองมาตรฐาน “การแปรรูปสินค้าประมงพื้นบ้าน” ได้รับการจดทะเบียนเป็นองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นด้านแปรรูป หรือเป็นสมาชิกองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น หรือได้รับการจดทะเบียนผู้ประกอบการด้านการประมง (ทบ.2) ไม่เคยถูกเพิกถอนการรับรองตามระเบียบนี้ เว้นแต่พ้นระยะเวลา 90 วัน นับจากวันที่เพิกถอนการรับรองมาแล้ว พร้อมทั้งแสดงหลักฐานการแก้ไขข้อบกพร่อง

Gender Integration in Fisheries

Therefore, Gender integration are needed  in support of equal opportunities integration of gender aspects should be promoted to ensure better recognition and enhancement of the roles of women  at regional, national, and local levels...

การบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยแนวทางเชิงระบบนิเวศ

การบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยแนวทางเชิงระบบนิเวศ (Ecosystem Approach to Fisheries Management: EAFM) การบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยแนวทางเชิงระบบนิเวศ คือ การนำแนวทางเชิงระบบนิเวศมาประยุกต์ใช้กับการประมง เพื่อทำให้เกิดการได้ประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืนจากระบบประมง โดยเน้นในเรื่องการหาสมดุลระหว่างความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ และความอยู่ดีมีสุขของมนุษย์ด้วยหลักธรรมาภิบาล ประโยชน์สำคัญของการบริหารจัดการทรัพยากรประมง โดยแนวทางเชิงระบบนิเวศ เกิดการพิจารณาความเชื่อมโยงระหว่างระบบนิเวศ และการประมงที่กว้างขึ้น เกิดการมีส่วนร่วมในการวางแผน เพื่อการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เอื้อต่อการเจรจา แลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ และสร้างสมดุลความต้องการของมนุษย์ ให้สอดคล้องกับระบบนิเวศ ช่วยให้เกิดสมดุลของผลผลิตสัตว์น้ำ กับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการปกป้องแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ ช่วยให้เกิดการแก้ไขและลดความขัดแย้งระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การจัดการประสบความสำเร็จ วัดผลอย่างไร การบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยแนวทางเชิงระบบนิเวศ มีระบบการติดตามและการประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ โดยแต่ละแผนการจัดการ ต้องมีตัวชี้วัดที่เหมาะสม ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ จะแสดงผลให้ทราบได้ว่าการจัดการนั้นๆมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด การบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยแนวทางเชิงระบบนิเวศเป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทยหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นการเติมเต็มและบูรณาการหลายแนวทางการจัดการที่มีอยู่ในการจัดการประมงทะเล และทรัพยากรชายฝั่ง เช่น การจัดการประมงที่มีอยู่แล้ว แผนการจัดการทะเลเชิงพื้นที่ การจัดการชายฝั่งแบบบูรณาการ และการจัดการแบบมีส่วนร่วม เข้ามาไว้ด้วยกัน การบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยแนวทางเชิงระบบนิเวศ...

COVID-19 Pandemic and Vigilant Measures Against the Spread Onboard M.V. SEAFDEC

Coronavirus 2019 In October 2019, China reported a cluster of cases of Pneumonia in Hubei. Then the first quarter of 2020 the officials confirm a case of COVID - 19 in Thailand, the first recorded...

Improve working conditions and practices on board for the local pilot purse seine fishing vessel

Introduction The purse seine fishery is much heavier and power consumption than other types of fishing gears, due to its size and many fishes it can catch by once the operation. It is important to...

Most Read