ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carcinoscorpius rotundicauda
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Mangrove horseshoe crab
ชื่อสามัญภาษาไทย : แมงดาถ้วย
ลําตัวโค้งกลม ผิวด้านบนมีขนสั้น สีนํ้าตาลอมแดง ส่วนท้องมี “หางค่อนข้างกลม ไม่มีสัน และ ไม่มีหนาม” อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นดินโคลน และตามคลองในป่าชายเลน

สารพิษที่พบในแมงดาถ้วย
สารที่พบในเนื้อ และ ไข่ของแมงดาถวย คือ สารเทโทรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) และ ซาซิท็อกซิน (Saxitoxin)
ซึ่งความร้อนไม่สามารถทําลายสารพิษได้ และ ทําได้ยากเนื่องจากมีพิษอยู่ที่ทางเดินอาหาร และ ไข่ โดยพิษเกิดได้
จาก 2 สาเหตุหลัก คือ
1. แมงดาถ้วยกินแพลงก์ตอนที่มีพิษ หรือ สัตว์ทะเลอื่น ๆ ที่มีพิษเขาไปสะสมในร่างกาย
2. เกิดจากแบคทีเรียในลําไสที่สร้างพิษขึ้นมาเอง

ผู้ได้รับพิษจากแมงดาถ้วย
มักแสดงอาการภายหลังรับประทานประมาณ 10 – 45 นาที ช้าที่สุดถึง 3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับแหล่งที่อยู่อาศัย ฤดูกาล และ ปริมาณพิษที่ได้รับ อีกท้ังในไข่ แมงดาถ้วยพิษเกิดรุนแรงมากกว่าในเนื้อ อาการมักจะเริ่มจาก มึนงง ชาบริเวณลิ้น ปาก ปลายมือ ปลายเทา และ มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง เริ่มจาก มือ แขน ขา รวมท้ัง อาจมีการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย บางรายมีอาการนํ้าลายฟูมปาก เหงื่อออก ตามองเห็นภาพไม่ชัด อาการที่รุนแรงมากจะทําให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง หายใจลําบาก ระบบหายใจล้มเหลว หมดสติ หากช่วยไม่ทันอาจเสียชีวิตภายใน 6 – 24 ชั่วโมง