แมงกะพรุน (JELLY FISH): พบบ่อยและมีพิษเเรงที่สุด

แมงกะพรุน (JELLY FISH) จัดอยู่ในไฟลัมไนดาเรีย (มีพิษ) ลักษณะลําตัวใส มีเข็มพิษบริเวณหนวดที่อยู่ด้านล่างไว้ป้องกันตัวและจับเหยื่อ พิษหรืรอเข็มพิษของแมงกะพรุน ที่เรียกว่า นีมาโตซีส (NEMATOCYST) กระจายอยู่ทั่วทุกส่วนของแมงกะพรุน โดยเฉพาะส่วนหนวด (TENTACLE) หนวดของแมงกะพรุนจะมีเข็มพิษอยู่เป็นล้านเซลล์ซึ่งมากกว่างูพิษ การสัมผัสพิษของแมงกะพรุนจะทําให้บาดเจ็บได้ในหลายระดับขึ้นอยู่กับชนิดของแมงกะพรุน และปริมาณพิษที่ได้รับ

เเตนทะเล (Sea Bather’s Eruption)

แตนทะเล (SEA BATHER’S ERUPTION) คือ แพลงตอนเล็ก ๆ ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับพวกดอกไม้ทะเล และแมงกระพรุนที่มีเข็มพิษแบบ NEMATOCYTE แตนทะเลมักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ สังเกตได้จากนํ้าทะเลจะขุ่น ซึ่งอาจจะแยกไม่ออกจะรู้ก็ต่อเมื่อโดนมันต่อย ซึ่งจะรู้สึกเจ็บเหมือนโดนเข็มขนาดเล็กจิ้ม ทําให้เกิดอาการคันและแสบร้อนได้เวลาไปดํานํ้าหรือเล่นนํ้าทะเล

ขนนกทะเล (Star Feather)

ขนนกทะเล (STAR FEATHER) เป็นไฮโดรซัวอยู่ในไฟลัมไนดาเรีย (พวกเดียวกับเเมงกะพรุน) ขนนกทะเลไม่ใช่พืช อาศัยอยู่บนโขดปะการัง
หรือยอดหินบริเวณที่มีกระแสนํ้าไหลผ่านแถวริมชายฝั่ง เสาสะพานท่าเรือ โป๊ะ หรือเศษวัสดุที่ลอยในทะเล

ปะการัง (Coral)

ปะการัง (CORAL) เป็นแอนโธซัว (ANTHOZOA) สิ่งมีชีวิตที่มีรูปร่างเป็นแท่งคล้ายดอกไม้ มีโครงสร้างค้ำจุน อยู่ไฟลัมไนดาเรีย (พวกเดียวกับเเมงกะพรุน) ปะการัง สามารถเป็นที่อยู่อาศัย หลบภัย วางไข่ แหล่งอาหารของพืชและสัตว์จํานวนมาก ปะการังมีความสําคัญต่อระบบนิเวศทางทะเล พบเห็นได้เเถวอ่าวไทย และอันดามัน

หมึกบลูริงหรือหมึกสายวงนํ้าเงิน (blue – ringed octopus)

หมึกบลูริงหรือหมึกสายวงนํ้าเงิน (BLUE – RINGED OCTOPUS) เป็นหมึกในสกุล HAPALOCHLAENA จัดเป็นหมึกขนาดเล็ก มีสีสันตามลําตัวที่เป็นจุดวงกลมคล้ายแหวนสีนํ้าเงินหรือสีม่วง สามารถเรืองแสงได้ เมื่อถูกคุกคาม พบได้ในอ่าวไทยและอันดามัน

หอยเต้าปูน ( Cone snail, Cone shell)

หอยเต้าปูน (CONE SNAIL, CONE SHELL) เป็นสัตว์นักล่า เปลือกมีสีสันสดใส และมีลวดลายสวยงามดึงดูดสายตา เคลื่อนที่ได้ช้าแต่มีเข็มพิษ (VENOMOUS HARPOON) เพื่อใช้สําหรับล่าเหยื่อ พิษของหอยเต้าปูนมีความรุนแรงมากพอที่จะฆ่าคนได้ พิษของหอยเต้าปูนมีชื่อว่า โคโนทอกซิน เป็นหนึ่งในพิษที่ร้ายแรงที่สุด ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท พบได้ตามแถบแนวปะการัง อาจพบอยู่ตามซอกหินปะการัง

ปูพิษกินไม่ได้!!

  • ปูใบ้ลายตาข่าย (อาศัยในแนวปะการัง)
  • ปูใบ้ลายแผนที่ (อาศัยในแนวปะการัง และหาดหิน)
  • ปูใบ้ตาแดง (พบได้บนหาดหินชายฝั่งตามเกาะต่าง ๆ
  • ปูใบ้หลังเต่าแดง (มักอยู่ตามแนวปะการัง)