ความเป็นมา

ชื่อหลักสูตร
การทำประมงอย่างเป็นมิตร เพื่อการจัดการทรัพยากรประมงที่ยั่งยืน
13 – 21 พฤษภาคม 2567 (9 วัน)
จำนวน 30 คน

วิธีการฝึกอบรม

การฝึกอบรมแบ่งเป็น การบรรยาย การฝึกปฏิบัติประกอบเครื่องมือประมง

ตารางฝึกอบรม

แสดงวัน-เวลา รายวิชา และชื่ออาจารย์ที่สอน

ดาวน์โหลดเอกสาร

สามารถดาวน์โหลดเอกสารต่างๆ รวมทั้งเอกสารประกอบการสอน

รายชื่อนักศึกษา

แสดงรายชื่อ มหาวิทยาลัยและอีเมล์

รวมภาพกิจกรรม

รวมภาพกิจกรรมทั้งหมดตลอดการฝึกอบรม

การฝึกอบรมระยะสั้นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย รุ่นที่ 64 (ประจำปี 2567)

หลักสูตรการทำประมงอย่างเป็นมิตร เพื่อการจัดการทรัพยากรประมงที่ยั่งยืน
(Eco-friendly Fisheries for Sustainable Fisheries Resources Management)

13 – 21 พฤษภาคม 2567 (9 วัน)

ความเป็นมา

ทรัพยากรสัตว์น้ำเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของประชากรโลก การทำประมงเพื่อก่อให้เกิดความยั่งยืนทั้งในด้านทรัพยากรสัตว์น้ำ และความมั่นคงสำหรับเป็นแหล่งทางอาหารให้กับคนทั่วโลก จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญ การพัฒนาเครื่องมือสำหรับทำประมงและการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยในการทำประมงเพื่อจับสัตว์น้ำให้ได้ปริมาณมากๆ ส่งผลต่อปริมาณของสัตว์น้ำ ทำให้สัตว์น้ำลดลงอย่างรวดเร็ว

ดังนั้น การสร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจต่างๆ เกี่ยวกับการทำประมงอย่างถูกวิธีและมีความรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดการจับสัตว์น้ำอย่างยั่งยืนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำให้คงอยู่ ให้กับกลุ่มนักศึกษา จะเป็นการช่วยให้นักศึกษาเห็นคุณค่าของทรัพยากรและจะเป็นข้อมูลสำคัญที่จะทำให้เกิดการใช้และรักษาทรัพยากรได้อย่างถูกต้องและยั่งยืนต่อไป

ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตร “การทำประมงอย่างเป็นมิตร เพื่อการจัดการทรัพยากรประมงที่ยั่งยืน” ขึ้น ซึ่งในหลักสูตรนี้ นักศึกษาจะได้รับความรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการทำประมงรวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำประมง เช่น การควบคุมเรือเล็ก การดำรงชีพในทะเล ฯลฯ นอกจากนี้ นักศึกษาจะได้รับความรู้ด้านการเก็บข้อมูลทรัพยากรสัตว์น้ำในแนวปะการัง ตลอดจนฝึกทักษะการออกแบบแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลวิถีชีวิตความเป็นอยู่และเศรษฐกิจสังคมของคนในชุมชนประมงอีกด้วย

วัตถุประสงค์

1. ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประมงและการจัดการทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน
2. ส่งเสริมความรู้ด้านการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลสิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง
3. ฝึกทักษะในการพัฒนาและออกแบบแบบสอบถามข้อมูลด้านเศรษฐสังคมของชุมชนประมง
4. สร้างเสริมประสบการณ์ในการควบคุมเรือเล็ก รวมถึงความปลอดภัยและการดำรงชีพในทะเล
5. ส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ