ชื่อหลักสูตร
การทำประมงอย่างเป็นมิตร เพื่อการจัดการทรัพยากรประมงที่ยั่งยืน
19-26 เมษายน 2566 (8 วัน)
จำนวน 22 คน
การฝึกอบรมแบ่งเป็น การบรรยาย การฝึกปฏิบัติประกอบเครื่องมือประมง การฝึกภาคทะเล และการศึกษาดูงานนอกสถานที่
แสดงวัน-เวลา รายวิชา และชื่ออาจารย์ที่สอน
สามารถดาวน์โหลดเอกสารต่างๆ รวมทั้งเอกสารประกอบการสอน
แสดงรายชื่อ มหาวิทยาลัยและอีเมล์
รวมภาพกิจกรรมทั้งหมดตลอดการฝึกอบรม
หลักสูตรการทำประมงอย่างเป็นมิตร เพื่อการจัดการทรัพยากรประมงที่ยั่งยืน
(Eco-friendly Fisheries for Sustainable Fisheries Resources Management)
19-26 เมษายน 2566 (8 วัน)
ในโลกยุคปัจจุบันเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้เข้ามามีบทบาทกับมนุษย์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีการจับสัตว์น้ำ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด จึงทำให้มีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วยในการทำประมงเพื่อจับสัตว์น้ำให้ได้ปริมาณมาก ๆ ซึ่งส่งผลต่อปริมาณของสัตว์น้ำ ทำให้สัตว์น้ำลดลงอย่างรวดเร็วและบางชนิดสูญพันธุ์
ความรู้ ความเข้าใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำประมงอย่างถูกวิธี เพื่อให้เกิดการจับสัตว์น้ำอย่างยั่งยืนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อรักษาทรัพยากรให้คงอยู่ การให้ความรู้ การฝึกปฏิบัติ รวมถึงการสร้างความเข้าใจและจรรยาบรรณที่ดีแก่กลุ่มนักศึกษา จะช่วยให้นักศึกษาเห็นคุณค่าของทรัพยากรและจะเป็นข้อมูลสำคัญที่จะทำให้เกิดการใช้และรักษาทรัพยากรได้อย่างถูกต้องและยั่งยืนต่อไป
ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตร “การทำประมงอย่างเป็นมิตร เพื่อการจัดการทรัพยากรประมงที่ยั่งยืน” ขึ้น ซึ่งในหลักสูตรนี้ นักศึกษาจะได้รับความรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการทำประมงรวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำประมง นอกจากนี้ นักศึกษาจะได้สำรวจพื้นที่และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนประมงอีกด้วย ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นข้อมูลสำหรับบุคลากรรุ่นใหม่ที่จะเติบโตขึ้นไปเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาด้านการประมงของประเทศชาติต่อไปในอนาคต
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือประมงและสมุทรศาสตร์เบื้องต้น
2. เพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ทางด้านการใช้เครื่องมือประมงและสมุทรศาสตร์เบื้องต้นระหว่างการฝึกภาคทะเล
3. เพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ในการศึกษาวิถีชีวิตชุมชนประมงและการทำประมงบริเวณปากแม่น้ำ
4. เพื่อให้นักศึกษาฝึกทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ